กิจกรรม ในประเทศ วัตรกับการจัดการขยะ

วัตรกับการจัดการขยะ Eco-temple

ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เริ่มต้นงานวิจัยเรื่องพุทธศาสนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๘ และโครงการนี้ โดยการนำเสนอของคุณแนนซี่ แนช ได้รับรางวัลโรเล็กซ์ ในปีถัดมา  ดร.ฉัตรสุมาลย์ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยก็ได้ไปร่วมในการรับรางวัลที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในครั้งนั้นด้วย

ครั้นบวชเป็นธัมมนันทาภิกษุณีต้องบริหารจัดการวัตรทรงธรรมกัลยาณี ท่านก็นำแนวทางพุทธปรัชญาในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาบริหารจัดการวัตร  ต่อมา ภิกษุณีธัมมปณีตาเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวัตร จึงรับทอดความคิดจากการเรื่มต้นของหลวงแม่นำมาสู่ภาคปฏิบัติ ด้วยความวิริยะ ขยัน อดทน  และท้ายที่สุด หลวงพี่ท่านเห็นว่า การเก็บ และจัดการขยะเป้นการปฏิบัติธรรมโดยแท้  เพราะไม่มีใครมาจัดการขยะในใจของเราได้ดีกว่าตัวเรา


หลวงพี่ปณีตา

การแยกขยะ สำหรับกล่องนม ขอให้ตัดเปิดกล่องให้ท่านด้วย ขยะสดจะนำไปทำเป็นปุ๋ย

เศษอาหารจากบาตร จากโรงครัว จะรวบรวมทุกเย็น แล้วนำมาเทใส่หลุม กลบฝัง เพื่อให้เป็นปุ๋ยหมักโดยอัตโนมัติ
ชั้นล่างของบ้านรักษ์ธรรม ซึ่งเปิดใช้เมื่อต้นปี ๒๕๖๒ ให้เป็นพื้นที่ในการรวบรวมขยะ แยกประเภท ฯลฯ

กล่องนม ตัดเปิด ล้าง แล้วส่งไปให้บริษัทที่ทำเฟอร์นิเจอร์ และทำกระเบื้องหลังคา ๑๐๐๐ กล่อง ทำกระเบื้องหลังคาได้ ๑ แผ่น


ซองกาแฟส่งไปให้คนชราเป็นวัสดุในการทำกระเป๋า ถุงพลาสติกล้างแล้วรวบรวมชั่งกิโลขาย

หลวงพี่ช่วยกันแยกขวดพลาสติก หากไม่แน่ใจ ก็ทิ้งลงในถังลังเล หลอดพลาสติกก็ใช้ได้หมดค่ะ ถุงพลาสติกที่ล้างแล้ว ใส่ถุงใหญ่พร้อมชั่งกิโลขาย

ถุงพลาสติกใช้แล้ว เอามาตัดต่อแล้วถักเป็นกระเป๋า และของใช้ในครัวเรือน

กระป๋องขนาดต่างๆ และขวดแก้วขายได้หมด หูกระป๋องแยกไว้ ส่งไปใช้เป็นวัสดุทำขาเทียม

เศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว นำมาตัดและทอเป็นพรม

กระดาษชนิดต่างๆใช้ได้หมด ตั้งแต่กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ ใช้เขียน กล่องบรรจุวัสดุภัณฑ์ชนิดต่างๆ กลับคืนสู่ขบวนการนำกลับมาใช้ได้ทั้งสิ้น

กระดาษที่ไม่ใช้แล้ว นำมาพับเป็นกล่องใช้ในสำนักงาน
หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งในวัตร นำมารวมกันท้ายสวน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก
โซล่าเซลล์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน วัตรทรงธรรมฯใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งระบบ